โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร?
โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
HPV DNA PCR คืออะไร?
การตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น ส่วนใหญ่ทุกคนจะคิดถึง เตียง PV หรือเตียงขาหยั่ง จึงอายไม่กล้าเข้าตรวจ แต่ด้วยนวัฒกรรมใหม่ HPV DNA PCR ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานโรค มีอัตราการตรวจที่แม่นยำกว่า วิธีการตรวจแบบเดิมมาก ซึ่งให้ผลตรวจที่วและมีความจพเพาะสูง (ประสิทธิภาพดีกว่าวิธีอื่น)
HPV DNA PCR ตรวจด้วยตนเองอย่างไร?
1.ล้างมือให้สะอาด
2.หมุนสวอปออกจากหลอด
3.จับตรงขีดสีแดง
4.สอดสวอปเข้าไปจนถึงขีดสีแดง หมุนแปรงตามเข็มนาฬิกา อย่างน้อย 4 รอบ หรือประมาณ 10-15 วินาที
5.ค่อยๆนำสวอปออกและนำเก็บกลับเข้าปลอกพลาสติ๊ก นำส่งให้เจ้าหน้าที่
6.รอผลตรวจแลป ประมาณ 7-10 วัน
โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร?
โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามเชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ในระยะแรกที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่ในภายหลังเมื่อเริ่มเป็นหนักมากขึ้นร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ เช่น มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือตกขาวผิดปกติ และอาจมีอาการปวดร่วมด้วยได้
อาการโรคมะเร็งปากมดลูก
ผู้ป่วยควรทำการนัดพบแพทย์เมื่อพบลักษณะอาการที่ผิดปกติหรือไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- เลือดออกกระปริดกระปรอย
- เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนมานานขึ้น หรือ ประจำเดือนมามากผิดปกติ
- มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
- มีตกขาวผิดปกติ
- ตกขาวปริมาณมากขึ้น
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือ มีเลือดปน
- ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีอาการใด ๆ หากตรวจคัดกรองแล้วพบว่าผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV มีบทบาทสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เมื่อเซลล์ปกติที่อยู่บริเวณปากมดลูกเกิดการกลายพันธุ์จะส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามคนส่วนมากที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เซลล์อาจจะยังไม่พัฒนาเป็นมะเร็งตั้งแต่แรกที่ได้รับเชื้อ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น ได้แก่
- การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย (chlamydia) โรคหนองในแท้ (gonorrhea) โรคซิฟิลิส (syphilis) และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS)
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะหากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- การสูบบุหรี่
อาการโรคมะเร็งปากมดลูก
ผู้ป่วยควรทำการนัดพบแพทย์เมื่อพบลักษณะอาการที่ผิดปกติหรือไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- เลือดออกกระปริดกระปรอย
- เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนมานานขึ้น หรือ ประจำเดือนมามากผิดปกติ
- มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
- มีตกขาวผิดปกติ
- ตกขาวปริมาณมากขึ้น
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือ มีเลือดปน
- ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีอาการใด ๆ หากตรวจคัดกรองแล้วพบว่าผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป
สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV มีบทบาทสำคัญในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เมื่อเซลล์ปกติที่อยู่บริเวณปากมดลูกเกิดการกลายพันธุ์จะส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามคนส่วนมากที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เซลล์อาจจะยังไม่พัฒนาเป็นมะเร็งตั้งแต่แรกที่ได้รับเชื้อ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน
การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ เริ่มจากแนะนำให้ลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน และงดสูบบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine) ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้การป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูง ยังสามารถป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งช่องปากได้อีกด้วย โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีด HPV วัคซีน ที่ช่วงอายุ 11 หรือ 12 ปี ถึงอายุ 26 ปี และได้ผลดีที่สุดในคนที่ไม่เคยได้รับเชื้อหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว แพทย์ก็ยังแนะนำให้ไปตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีทั้งวิธีการ ตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear) และวิธีตรวจ เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA) สำหรับการตรวจแปปสเมียร์ แพทย์จะทำการป้ายเซลล์จากปากมดลูกเพื่อเก็บไปตรวจหาความผิดปกติ หรือปัจจุบันใช้วิธี Liquid-base cytology (LBC) เป็นการเก็บเซลล์จากปากมดลูกใส่ในของเหลวเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ซึ่งให้ผลตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น การตรวจแปปสเมียร์ หรือ LBC จะสามารถตรวจหาได้ทั้งเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการตรวจเชื้อ HPV DNA สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรองมากขึ้น
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์สำหรับแนวทางการตรวจคัดกรองมดลูก โดยทั่วไปจะแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองมดลูกในหญิงที่อายุ 21 ปี ขึ้นไป
การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก
ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกครั้งแรก แพทย์จะเริ่มทำการตรวจปากมดลูกและหากแพทย์ตรวจพบรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อ (punch biopsy) ที่ตำแหน่งที่สงสัยบริเวณปากมดลูก โดยใช้เครื่องมือปลายแหลมในการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม หากตรวจไม่พบรอยโรค แต่ตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติจาก Pap smear หรือ HPV DNA test แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (colposcopic examination) การตรวจแบบนี้ใช้กล้องคอลโปสโคปในการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเซลล์จากปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ ในบางครั้งอาจตรวจด้วยการ ขูดภายในคอมดลูก (endocervical curettage) ผ่านการใช้เครื่องมือขนาดเล็ก (curette) ขูดเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเพื่อการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
ในกรณีที่ผลชิ้นเนื้อพบว่าเป็นรอยโรคก่อนมะเร็ง แพทย์จะทำการรักษาพร้อมวินิจฉัย ด้วยวิธีการผ่าตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวย (cone biopsy หรือ conization) โดยมักจะทำด้วยวิธี Loop electrosurgical excision procedure (LEEP) โดยใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะวงลวดไฟฟ้าขนาดเล็ก (electrical wire loop) พร้อมกับการใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ และการผ่าตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวย เพื่อวินิจฉัยและรักษารอยโรคก่อนมะเร็ง
สำหรับการตรวจเพื่อระบุระยะของมะเร็งปากมดลูก นอกเหนือจากการตรวจภายใน และการตรวจทางทวารหนักในเบื้องต้น การสร้างภาพเหมือนจริง (imaging tests) เช่น การตรวจด้วยเอกซ์เรย์ (X-ray) การตรวจ CT scan การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการใช้ PET Scan ที่จะช่วยระบุระดับการลุกลามของมะเร็งต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ นอกจากนั้นในบางราย แพทย์อาจจะทำการตรวจดูภายในกระเพาะปัสสาวะและทวารหนักร่วมด้วย
การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV ในช่วงอายุ 11-12 ปีโดยสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคมะเร็งปากลูกก็มีทางเลือกในการรักษามะเร็งปากมดลูกที่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด (surgery) การใช้รังสีรักษา (radiation) การใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) หรือการรักษาร่วมกัน
-
การผ่าตัด (Surgery)
ในมะเร็งปากมดลูกระยะแรก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง (radical hysterectomy) โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ส่วนบนของช่องคลอด รวมไปถึงเนื้อเยื่อด้านข้าง และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน แต่หากมะเร็งปากมดลูกมีขนาดเล็กมากและเป็นระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจจะได้รับการผ่าตัดเพียงปากมดลูกและมดลูก (simple hysterectomy) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการมีบุตรในอนาคต ยังมีทางเลือกผ่าตัดที่สามารถเก็บมดลูกไว้ได้ (ผ่าตัดปากมดลูก หรือ trachelectomy) ซึ่งแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของการรักษาต่อไป
-
การใช้รังสีรักษา (Radiation)
หลังทราบผลชิ้นเนื้อและพบว่ามีความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำ แพทย์อาจแนะนำการใช้รังสีรักษา เพื่อร่วมรักษาเพิ่มเติมหลังผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced cervical cancer) แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลัก
การรักษาด้วยรังสีรักษามี 2 ประเภทหลักๆ ประเภทแรกคือการฉายรังสีระยะไกล (external beam radiation therapy) วิธีการนี้เป็นการรักษาด้วยรังสีที่มาจากเครื่องกำเนิดรังสี แพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติ วิธีการรักษาอีกประเภทคือ การให้รังสีระยะใกล้ (Brachytherapy) โดยแพทย์จะให้แร่ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
การใช้รังสีรักษาอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการเก็บรักษาไข่ก่อนเริ่มการรักษาโดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยอายุน้อย หรือผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร ในอนาคต
-
การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อยร่วมกับการใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ โดยยาเคมีบำบัดจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีรักษามากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายแพทย์มักจะรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการใช้ยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted-Drug Therapy) แพทย์มักจะใช้การรักษารูปแบบนี้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
-
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
ถูกนำมาใช้สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะแพร่กระจาย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาประเภทอื่นๆ การรักษาแบบนี้จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม การรักษาวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น ได้แก่
- การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย (chlamydia) โรคหนองในแท้ (gonorrhea) โรคซิฟิลิส (syphilis) และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS)
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะหากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- การสูบบุหรี่
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
- คำถาม: โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร?
คำตอบ: โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด - คำถาม: โรคมะเร็งปากมดลูก มีอาการอย่างไร?
คำตอบ: ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์ - คำถาม: ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
คำตอบ: ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย (chlamydia) โรคหนองในแท้ (gonorrhea) โรคซิฟิลิส (syphilis) และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS) เป็นต้น - คำถาม: ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
คำตอบ: มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ เริ่มจากลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine) ตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี
ดาร์เลเน่สหคลินิก
ตั้งอยู่ที่ : 496/21 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 066-093-2666
Leave a Reply